วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

สำหรับการใช้งานด้านกราฟิกสำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟิก งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งาน อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมีดังนี้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo หรือ AMD Athlon 64×2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
มีสล็อตPCL Express ×16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดบรรจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express ×16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น nVidia GeForce FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon ×1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรือ อาจสูงถึง 1 Gbpsก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟDVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๑๙ นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐ โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)

สำหรับลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องสำรองไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ และหากต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมาก อาจเลือกใช้บลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้


จัดทำโดย                    
นางสาววรัญญา  อัครศุภธนวัฒน์ เลขที่ 4
นายอนุสรณ์  กลิ่นขจร  เลขที่ 9       
นางสาวณัฐการต์  สุวรรณนิตย์  เลขที่ 11
นางสาวอารีรัตน์  พูลสวัสดิ์ เลขที่ 15   
นางสาวดลหทัย  รุ่งปุญญะสิทธิ เลขที่ 19

นางสาวภัททิยา พูลทรัพย์ เลขที่ 32   


วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พรบ.คอมพิวเตอร์

พรบ.คอมพิวเตอร์


เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ในด้านของการศึกษา โดยเฉพาะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ในฐานะผู้ออกแบบและพัฒนานั้นจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องเป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องรู้กฎหมาย และมีความรอบคอบในการทำงานและระวังให้มากขึ้น

1. เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา ถ้าเราแอบเข้าไป … จำคุก 6 เดือน

2. เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น แล้วเผยแพร่ให้คนอื่นรู้   จำคุกไม่เกินปี

3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์   จำคุกไม่เกิน 2 ปี

4. ข้อมูลที่ถูกส่งหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วไปดักจับข้อมูลของเขา จำคุกไม่เกิน 3 ปี

5. ข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้ามีไปตัดต่อ ดัดแปลง … จำคุกไม่เกิน 5 ปี (ดังนั้นอย่าไปแก้ไขงานเอกสารที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่น)

6. ปล่อย Multiware เช่น virus, Trojan, worm เข้าระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นแล้วระบบเข้าเสียหาย … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

7. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. และสร้างความเสียหายใหญ่โต เช่น เข้าไปดัดแปลงแก้ไข ทำลาย ก่อกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ……..จำคุกสิบปีขึ้น

8. ถ้ารบกวนโดยการส่ง email โฆษณาต่างๆไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น  … ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

9. ถ้าเราสร้างโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์เพื่อเพื่อสนับสนุนผู้กระทำความผิด … จำคุกไม่เกินปีนึง

10. ส่งภาพโป๊ , ประเด็นที่ไม่มีมูลความจริง, ท้าทายอำนาจรัฐ … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

11. เจ้าของเว็บไซด์โหรือเครือข่ายที่ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนลงโทษด้วย … จำคุกไม่เกิน 5 ปี

12. ชอบเอารูปคนอื่นมาตัดต่อ … จำคุกไม่เกิน 3 ปี